ผลงาน EnConLab

กลุ่มวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาด้านพลังงาน ภายใต้คณะพลังงาน สิ่งแวดล้อม และวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ที่ให้บริการหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ด้วยวิชาการ และความเที่ยงตรง มายาวนานกว่า 15 ปี

speaker

เป็นการคัดเลือกอาคารประหยัดพลังงาน โดยใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานของโครงการ ประกอบด้วย เกณฑ์ MEA Index และ เกณฑ์การประเมินทางด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ) เมื่ออาคารผ่านเกณฑ์มาตรฐานแล้วจะได้รับตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS

speaker

KCPM หรือ KMUTT CHILLER PLANT MANAGER คือ ระบบบริหารจัดการการทำงานของเครื่องทำน้ำเย็นที่มีเป้าหมายเพื่อให้ระบบผลิตน้ำเย็นมีประสิทธิภาพสูงสุด

speaker

เป็นการคัดเลือกอาคารประหยัดพลังงาน โดยใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานของโครงการ ประกอบด้วย เกณฑ์ MEA Index และ เกณฑ์การประเมินทางด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ) เมื่ออาคารผ่านเกณฑ์มาตรฐานแล้วจะได้รับตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS.

speaker

โครงการนี้จะส่งเสริมให้อาคารที่มีมอเตอร์มาใช้โปรแกรมประเมินประสิทธิภาพมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อช่วยประเมินผลประหยัดจากการเปลี่ยนมอเตอร์เป็นมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง

speaker

โครงการนี้จะเชิญชวนอาคารที่เข้าร่วมโครงการ ประกวดการแข่งขันการประหยัดพลังงานในอาคาร

speaker

โครงการนี้ทีมงานได้จัดทำระบบบันทึกข้อมูลการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์แบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถรับ และตรวจสอบข้อมูลผ่านอุปกรณ์ใกล้ตัวได้ตลอดเวลา

speaker

โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจและความคุ้นเคยกับยานยนต์ไฟฟ้า โดยเน้นในกลุ่มผู้ใช้รถตุ๊กตุ๊กรับจ้างและรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคล ให้เกิดการเปลี่ยนมาใช้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าจำนวน 100 คัน และติดตามประเมินผลการใช้งาน พร้อมทั้งนำรถตุ๊กตุ๊กเก่ามาศึกษาดัดแปลงเป็นรถตุีกตุ๊กไฟฟ้าต่อไป

speaker

โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่มีชั่วโมงการใช้งานสูง และอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานภายในอาคารมีสภาพเก่าและล้าสมัย พพ. จึงได้จัดทำโครงการขึ้นมา เพื่อสนับสนุนเงินลงทุนบางส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการใช้พลังงานของอาคารโรงพยาบาลภาครัฐ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ผลงาน ที่ผ่านมา

  • ผลงานปี
    ชื่อโครงการ
    รายละเอียด
  • 2566
    โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร พ.ศ. 2566 ปีที่ 7 (MEA ENERGY AWARDS 2023)
    โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ส่งเสริมให้อาคารร่วมกันลดการใช้พลังงาน เพื่อความยั่งยืนต่อไป.
  • 2566
    โครงการการศึกษาการใช้ประโยชน์จาก RDF เพื่อเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในภาคอุตสาหกรรม
    การนำขยะมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมีผลดีหลายประการ ได้แก่ การลดปัญหาสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงาน และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อย่างไรก็ตามเชื้อเพลิงขยะอาจก่อให้เกิดมลพิษและมีสารปนเปื้อน การนำมาเผาไหม้จึงจำเป็นต้องใช้งานอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและต่ออุปกรณ์เผาไหม้เอง
  • ผลงานปี
    ชื่อโครงการ
    รายละเอียด
  • 2565
    โครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครื่องทำน้ำเย็นต้นทุนต่ำและใช้งานง่าย เพื่อการประหยัดพลังงาน ระยะที่ 2
    KCPM หรือ KMUTT CHILLER PLANT MANAGER คือ ระบบบริหารจัดการการทำงานของเครื่องทำน้ำเย็นที่มีเป้าหมายเพื่อให้ระบบผลิตน้ำเย็นมีประสิทธิภาพสูงสุด ต่างจากระบบ Building Automation System ที่ได้ได้มีฟังก์ชันปิด-เปิด หรือตั้งเวลาการทำงานของเครื่องผู้ใช้งานต้อง ปิด-เปิดเครื่องแต่มีฟังก์ชันควบคุมที่ช่วยให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ.
  • 2565
    ที่ปรึกษาด้านการจัดการพลังงาน ประจำปี 2565 สำหรับอาคารควบคุมการไฟฟ้านครหลวง เขตบางเขน เขตบางขุนเทียน
    ดำเนินการด้านการจัดการพลังงานของอาคารควบคุมการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 2 เขต เขตบางเขน และเขตบางขุนเทียน ให้เป็นไป ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 และประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552
  • 2564
    โครงการศึกษาพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานที่ปรึกษาพลังงาน (Development of IT System for Energy Consultant Project)
    เพื่อศึกษา วิเคราะห์และจัดทำแนวทางการพัฒนาระบบการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานและด้านบริหารภายในองค์กร
  • 2564
    โครงการกำกับดูแลการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสำหรับโรงงานควบคุม (กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ, เคมีและไม้)
    ผลักดันการดำเนินการตามกฎหมายของโรงงานควบคุม และตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทั่วถึงโรงงานควบคุม
  • 2562
    โครงการที่ปรึกษาดำเนินการด้านการจัดการพลังงาน ประจำปี 2562 ที่อาคารควบคุมการไฟฟ้านครหลวง (4 เขต นนทบุรี ยานนาวา บางเขน และบางขุนเทียน)
    ดำเนินการด้านการจัดการพลังงานของอาคารควบคุมการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 4 เขต เขตนนทบุรี เขตบางเขน เขตยานนาวา และเขตบางขุนเทียน ให้เป็นไป ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 และประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552
  • 2562
    โครงการพัฒนาและสาธิตระบบบันทึกข้อมูลการใช้พลังงานอิเลคทรอนิคส์สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(E-LOGBOOK for SMEs)
    พัฒนาระบบ E-Logbook และพัฒนาอุปกรณ์วัดกำลังไฟฟ้าต้นแบบให้ทำหน้าที่ส่งค่าข้อมูลอัตโนมัติทำงานร่วมกับข้อมูลอื่นๆ จากการบันทึกโดยผู้บันทึกตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับวิธีการทำงานเดิม ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา ช่วยให้เกิดการติดตาม ตรวจสอบ และสร้างโอกาสในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร และยกระดับศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจได้ ระบบที่พัฒนาขึ้นมีเจตนาต้องการให้เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ผู้ใช้ที่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่เกิดการต่อต้าน ร่วมกับการประชาสัมพันธ์ทำให้เกิดการนำไปใช้งานในวงกว้าง จะช่วยส่งเสริมการตลาดของเทคโนโลยีอุปกรณ์วัดค่า ธุรกิจสื่อสาร สื่อสารข้อมูล ส่งผลต่อคุณภาพสินค้าและราคาที่ต่ำลงเป็นผลดีต่อ SMEs และผู้จำหน่าย สอดคล้องต่อการนโยบายภาครัฐด้านพลังงาน แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 เป็นก้าวแรกของการยกระดับให้ SMEs ให้ก้าวสู่เทคโนโลยี 4.0 อย่างแท้จริง
  • 2562
    โครงการกำกับดูแลและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายสำหรับโรงงานควบคุม (Regulate and Facilitate Expert (RFE)) (กลุ่มอุตสาหกรรมโลหะมูลฐาน อุตสาหกรรมกระดาษ และอุตสาหกรรมเคมี)
    ผลักดันการดำเนินการตามกฎหมายของโรงงานควบคุม และตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทั่วถึงโรงงานควบคุม
  • 2561
    โครงการที่ปรึกษาในการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาตลาดการซื้อขายไฟฟ้าเสรีสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กระบบโคเจนเนอเรชั่น (SPP Power Pool)
    สำรวจโรงไฟฟ้าเพื่อศึกษาปริมาณการผลิตไฟฟ้าจาก SPP Cogeneration ความต้องการใช้ไฟฟ้าพื้นที่ และความสามารถของระบบส่งและระบบจำหน่าย เพื่อประเมินศักยภาพปริมาณไฟฟ้าส่วนที่เกินรายชั่วโมงจากการขายให้ลูกค้าตรงของ SPP Cogeneration และปริมาณและช่วงเวลารับซื้อไฟฟ้าที่เหมาะสม
  • 2560
    โครงการศึกษาศักยภาพอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนพื้นที่ภาคตะวันตก ระยะที่ 2
    ศึกษา ทบทวน ศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในเขตพื้นที่ โดยลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลจากสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ภาคตะวันตก แล้วจัดทำฐานข้อมูลการใช้พลังงานภาคครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ และวิเคราะห์ศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานในระดับสาขาของประเทศ ตามนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579
  • 2560
    โครงการสร้างความตระหนักในการใช้พลังงานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พื้นที่อารีย์ กรุงเทพมหานคร ปี 2560
    รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการสร้างความตระหนักในการใช้พลังงาน เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุมชนอารีย์ กรุงเทพมหานคร
  • 2560
    โครงการนำร่องซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทยรายสาขาอุตสาหกรรม โรงงานนำร่องในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
    ประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกและสิทธิการในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเทียบเป้าหมายและวิธีจัดสรรสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายสาขา ทบทวนและปรับปรุงแนวทางการติดตามผลและรายงานการก๊าซเรือนกระจกสำหรับระบบ MRV ของ Thailand V-ETS รายสาขาอุตสาหกรรม ในโรงงานนำร่อง จำนวน 4 แห่ง
  • 2560
    โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
    เป็นโครงการระยะที่ 5 โดยจัดทำและทบทวนการประเมินเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารทั้ง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย อาคารประเภทโรงพยาบาล, อาคารโรงแรม, อาคารสำนักงาน และอาคารศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า พัฒนาให้เจ้าของอาคาร ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน และสามารถนำแนวทางไปใช้ในการจัดการพลังงานในอาคารให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยกำหนดจำนวนอาคารที่ผ่านการคัดเลือกอย่างน้อย 2 อาคาร และลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง 160 kWh/ปี ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 88 ตัน/ปี ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
  • ผลงานปี
    ชื่อโครงการ
    รายละเอียด
  • 2559
    โครงการสนับสนุนการเปลี่ยนรถตุ๊กตุ๊กให้เป็นรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า (eTukTuk)
    เป็นที่ปรึกษาส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ในกลุ่มรถตุ๊กตุ๊ก โดยประกอบด้วยงาน 4 ส่วนได้แก่ การส่งเสริมหาผู้ประกอบการนำร่อง นำรถเข้าร่วมจำนวน 100 คัน โดยผู้เข้าร่วมจะต้องนำรถเก่ามาแลก และจะได้เงินสนับสนุนในการจัดซื้อรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าคันใหม่ทดแทน และส่วนที่ 2 เป็นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการใช้งานรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า และการดูแลรักษา ข้อจำกัดในการใช้งาน ส่วนที่ 3 เป็นการติดตามข้อมูลการใช้งานของรถตุ๊กตุ๊กใหม่ทั้ง 100 คัน ด้วยระบบอินเตอร์เน็ต และสุดท้าย คือการส่งเสริมและสร้างองค์ความรู้ในการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้า โดยคันเก่า 100 คันจะมอบให้สถานศึกษาเพื่อปรับปรุงเป็นรถไฟฟ้า และประกวดแข่งขัน
  • 2559
    โครงการส่งเสริมการจัดทำกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action: NAMAs) ในอาคาร
    เป็นที่ปรึกษาพัฒนาการดำเนินงานด้านลดก๊าซเรือนกระจกการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอาคาร และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Common Carbon Metrics (CCM) : เครื่องมือตรวจวัด รายงาน และทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ EDGE : โปรแกรมวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการออกแบบก่อสร้างอาคารที่ลดก๊าซเรือนกระจก และประหยัดทรัพยากร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความคุ้มค่าในการออกแบบอาคารและติดตามการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอาคาร
  • 2559
    โครงการศึกษาศักยภาพอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนพื้นที่ภาคตะวันตก
    ศึกษา ทบทวน ศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในเขตพื้นที่ โดยลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลจากสถานประกอบการกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ภาคตะวันตก แล้วจัดทำฐานข้อมูลการใช้พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ และวิเคราะห์ศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานในระดับสาขาของประเทศ ตามนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579
  • 2559
    โครงการสร้างความตระหนักในการใช้พลังงานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พื้นที่อารีย์ กรุงเทพมหานคร ปี 2559
    รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโครงการสร้างความตระหนักในการใช้พลังงาน เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุมชนอารีย์ กรุงเทพมหานคร
  • 2559
    โครงการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำแข็งซอง
    เป็นที่ปรึกษาศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อน และออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนซึ่งจะลดเวลาที่ใช้ในการผลิต ลดการสูญเสียพลังงาน และออกแบบจริง ทดสอบ และทดลองในโรงงานนำร่อง 1 แห่ง ประเมินผลที่ได้รับ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการคือ
    1. เพื่อศึกษาความต้องการของตลาด ผู้บริโภค ผู้ผลิตจำหน่าย ในการผลิตน้ำแข็งซองแบบใหม่
    2. เพื่อศึกษาและออกแบบระบบผลิตน้ำแข็งซองที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดเวลาการผลิต 3. เพื่อออกแบบและปรับปรุงระบบผลิตน้ำแข็ง ในโรงงานจริงเพื่อศึกษาความเหมาะสมและผลที่ได้รับจริง
  • 2559
    โครงการสนับสนุนการลงทุนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในโรงพยาบาลของรัฐ (Matching Fund) (ค่าว่าจ้างที่ปรึกษาในการปฏิบัติหน้าที่บริหารโครงการ ติดตามประเมินผลและประชาสัมพันธ์โครงการ)
    เป็นที่ปรึกษาจัดทำหลักเกณฑ์การให้การสนับสนุนโรงพยาบาลของรัฐ เพื่อเข้าร่วมโครงการ ตลอดจนติดตามและประเมินผลโครงการ ขั้นตอนในการพิจารณา ประกอบด้วย การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคและพิจารณาข้อเสนอด้านการเงิน จัดทำข้อมูลรายละเอียดอุปกรณ์ ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลรายละเอียดของศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินการตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัด โดยเข้าสำรวจตรวจสอบการใช้พลังงานก่อนที่จะปรับปรุง และสำรวจพิสูจน์ผลประหยัด พร้อมจัดทำรายงานวิเคราะห์การใช้พลังงานก่อน-หลังการทดสอบระบบ เพื่อวิเคราะห์ผลการสนับสนุนแก่ผู้ได้รับการสนับสนุน ให้กับ พพ. พิจารณาต่อไป
  • 2558
    โครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย
    เป็นโครงการระยะที่ 2 ของโครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย เพื่อทดสอบแนวทางการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting, and Verification System) หรือระบบ MRV ของ Thailand V-ETS รวมถึงพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการและกฎของการดำเนินงานของระบบ Thailand V-ETS ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ นอกจากนี้ อบก.ยังได้ศึกษาผลกระทบของการใช้กลไก ETS ต่อระบบเศรษฐกิจของไทยโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐกิจมหภาคด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากการทดสอบระบบ MRV และการพัฒนากฎการดำเนินงานของระบบ Thailand V-ETS จำเป็นต้องใช้ระยะเวลามากกว่าหนึ่งปีจึงจะครบถ้วนตามกระบวนการดำเนินงานทั้งหมดของระบบ
  • 2558
    โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
    เป็นโครงการระยะที่ 4 อาคารเป้าหมายคืออาคารประเภทโรงเรียน และอาคารประเภทร้านสะดวกซื้อ โดยจัดประกวดอาคาร เพื่อค้นหาสุดยอดอาคารประหยัดพลังงานกับ กฟน. โดยใช้วิธีการคัดเลือกอาคารที่มีนโยบาย แผนงาน บุคลากรทางด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นและมีผลประหยัดชัดเจนในระดับสูง เพื่อให้ตราสัญลักษณ์แสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและติดเครื่องหมายแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร รวมทั้งมอบเงินรางวัลให้แก่อาคารที่ผ่านเกณฑ์ตามที่ กฟน. กำหนด เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับเจ้าของอาคารในการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 2558
    โครงการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์พลังงานจังหวัดภูเก็ต
    เพื่อจัดทำแผนการส่งเสริมให้ภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบในการอนุรักษ์พลังงาน และแนวทางบูรณาการ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน เพื่อที่จะดำเนินการส่งเสริมร่วมกัน
  • 2558
    โครงการที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาผลกระทบของมาตรการแทรกแซงราคาด้วยกล่อง กฟผ. (หลอด CFL และหลอด LED) ในเชิงการประเมินผลด้าน Load Impact และด้าน Marketing
    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้มีการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้หลอดตะเกียบ (CFL) และหลอด LED E27 โดยดำเนินการติดฉลากเบอร์ 5 และการจัดจำหน่ายหลอดบรรจุในกล่อง กฟผ. ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมฯ ดังกล่าว โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีทำการศึกษาผลกระทบของมาตรการแทรกแซงราคาด้วยกล่อง กฟผ. (หลอด CFL & LED) มีระยะเวลาการศึกษา 6 เดือน จุดประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ
    1. ศึกษาภาพรวมตลาดและปัญหาอุปสรรคในการขยายตัวหลอด LED E27
    2. เพื่อศึกษาถึงข้อมูล/ตัวแปรเพื่อใช้ในการประเมินผลด้าน Load Impact ของโครงการติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และโครงการกล่อง กฟผ. หลอด LED E27
  • 2557
    งานกำกับดูแล และส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมภาคเอกชน(โรงงานควบคุม กลุ่มที่ 2 พื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ, ปทุมธานี, นครปฐม, กาญจนบุรี, ราชบุรี และสุพรรณบุรี
    ผลักดันการดำเนินการตามกฎหมายของโรงงานควบคุม และตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทั่วถึงโรงงานควบคุม
  • 2557
    โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ปีที่ 3 (2557 – 2558)
    เป็นโครงการระยะที่ 3 อาคารเป้าหมาย คือ อาคารประเภท มหาวิทยาลัย และศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า โดยจัดประกวดอาคาร เพื่อค้นหาสุดยอดอาคารประหยัดพลังงานกับ กฟน. โดยใช้วิธีการคัดเลือกอาคารที่มีนโยบาย แผนงาน บุคลากรทางด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นและมีผลประหยัดชัดเจนในระดับสูง เพื่อให้ตราสัญลักษณ์แสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและติดเครื่องหมายแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร รวมทั้งมอบเงินรางวัลให้แก่อาคารที่ผ่านเกณฑ์ตามที่ กฟน. กำหนด เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับเจ้าของอาคารในการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 2556
    โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ปีที่ 2 (2556 – 2557)
    เป็นโครงการระยะที่ 2 อาคารเป้าหมาย คืออาคารประเภทโรงแรมและสำนักงานโดยจัดประกวดอาคาร เพื่อค้นหาสุดยอดอาคารประหยัดพลังงานกับ กฟน. โดยใช้วิธีการคัดเลือกอาคารที่มีนโยบาย แผนงาน บุคลากรทางด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งมั่นและมีผลประหยัดชัดเจนในระดับสูง เพื่อให้ตราสัญลักษณ์แสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและติดเครื่องหมายแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร รวมทั้งมอบเงินรางวัลให้แก่อาคารที่ผ่านเกณฑ์ตามที่ กฟน. กำหนด เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับเจ้าของอาคารในการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 2555
    โครงการกำกับดูแลและส่งเสริมการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 สำหรับโรงงานควบคุมกลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออก (ยกเว้นจังหวัดระยอง และปราจีนบุรี)
    ผลักดันการดำเนินการตามกฎหมายของโรงงานควบคุม และตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทั่วถึงโรงงานควบคุม
  • 2555
    โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรการอุดหนุนผลการประหยัดพลังงานสำหรับผู้ใช้รายย่อยและธุรกิจ/อุตสาหกรรมขนาดเล็ก: Standard offer program (SOP)
    พัฒนาแนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานด้วยมาตรการ Standard Offer Programคัดเลือกเทคโนโลยี/มาตรการและอัตราการชดเชยที่มีความเหมาะสม รวมทั้งจัดทำเงื่อนไขในการสนับสนุน และเอกสารแบบฟอร์มที่ใช้ในการดำเนินงาน โดยขอบเขตงานคือ
    1. ศึกษามาตรการ Standard Offer Program ที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศ สรุปทางเลือก ข้อดี ข้อเสีย ของวิธีการต่างๆ และเสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
    2. กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา และคัดเลือกเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานที่ควรส่งเสริม พร้อมทั้งเงื่อนไขในการส่งเสริมในแต่ละเทคโนโลยี
    3. วิเคราะห์และกำหนดอัตราการชดเชยที่เหมาะสมในแต่ละมาตรการ ในข้อ 2
    4. จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ทั้งสถานประกอบการและหน่วยงานส่งเสริมของรัฐ ไม่น้อยกว่า 50 คน ต่อ 1 ครั้ง 5. จัดทำขั้นตอนรับการส่งเสริมเอกสารแบบฟอร์ม หลักเกณฑ์ในการพิจารณาและอัตราการสนับสนุน คู่มือการตรวจสอบ และแผนการดำเนินงานในระยะเวลา 2 ปีแรก
  • 2555
    โครงการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
    ดำเนินการมอบเครื่องหมายแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารให้กับอาคารที่มีการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า พัฒนาให้เจ้าของอาคาร ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน และสามารถนำแนวทางไปใช้ในการจัดการพลังงานในอาคารให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง 160 MWh/ปี ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 88 ตัน/ปี ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
  • 2555
    โครงการให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและที่ประสบอุทกภัยอาคารธุรกิจ(กลุ่มกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล1 – นนทบุรีและปทุมธานี)
    โครงการนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับหอการค้าไทย โดยได้รับมอบหมายให้เข้าไปฟื้นฟูโรงงานหรืออาคารที่ถูกน้ำท่วมในเขตจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานีจำนวน 250 แห่ง (เป็นส่วนของ มจธ. 125 และ หอการค้าไทย 125 แห่ง) โดยจะส่งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจที่ประสบภัยน้ำท่วม ให้ได้รับการฟื้นฟูโดยการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานให้มีความปลอดภัย สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผลงานปี
    ชื่อโครงการ
    รายละเอียด
  • 2554
    โครงการสนับสนุนการกำกับดูแลตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 และพ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 สำหรับโรงงานควบคุม กลุ่มที่ 2
    เป็นที่ปรึกษาตรวจสอบ (Accredited Consultant, ACs) ร่วมกับมหาวิทยาลัยของรัฐอี 6 แห่ง เพื่อดำเนินการในลักษณะของที่ปรึกษาภายใน พพ. ช่วยปฏิบัติหน้าที่แทน พ.พ. ในการให้คำปรึกษา ให้ความรู้ แนะนำ กระตุ้นเตือน และเร่งรัดให้โรงงานควบคุมดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งช่วยเหลือในการตรวจสอบความถูกต้องของผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมที่โรงงานควบคุมต้องจัดส่งให้ พพ. โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้รับมอบหมายให้ดูแลโรงงานควบคุมกว่า 2,000 แห่งในเขตภูมิภาคยกเว้นจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมหาวิทยาลัยฯ ดำเนินงาน
    • เป็นตัวแทนที่ดีของ พพ. ในการสื่อสารให้ข้อมูลกับโรงงาน
    • การสร้างความแข็งแกร่งให้กับโรงงานควบคุมที่ดูแล โดย การจัดสัมมนาให้ความรู้ เอกสารเผยแพร่/วีดีทัศน์ความรู้ต่างๆ ที่จัดทำขึ้น web-site ของหน่วยงาน จดหมายข่าว
    • การดำเนินการเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงงานควบคุมที่รับผิดชอบโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่โรงงานจะได้รับเป็นหลัก
    • การดำเนินงานต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งมั่นที่จะให้บริการแก่โรงงานในลักษณะ one-stop-service • การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน พพ. ในการปรับปรุงพัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนในการดำเนินงาน
  • 2554
    โครงการนำร่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอาคารของไทย
    เพื่อพัฒนาวิธีการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร รวมถึงพัฒนาระบบการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (คาร์บอนเครดิต) จากกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร ควบคู่กับระบบการตรวจวัดและทวนสอบ (Measurement and Verification: M&V) ผลประหยัดพลังงานที่ใช้ในอาคาร โดยมีอาคารนำร่องจำนวน 10 อาคาร
  • 2553
    โครงการที่ปรึกษาผู้ตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา รอบที่ 6 ส่วนที่ 1
    เพื่อทำหน้าที่ตรวจวัดและรับรองผลการใช้พลังงานในกิจการของ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” จาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา โดยบริเวณที่ตรวจวัด และรับรองผลนั้นจะครอบคลุมในส่วนที่กิจการนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรอุปกรณ์ ตามแผนงานที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” ได้มีข้อตกลงกันไว้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามพื้นฐานการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบผลการประหยัดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน (Measurement and Verification, M&V) โดยอ้างอิงจากข้อตกลงร่วมกันด้านการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบระดับนานาชาติ (International Performance Measurement and Verification Protocol, IPMVP) ซึ่งบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของ M&V Unit นั้นจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับ “ผู้ได้รับเงินสนับสนุน”เพื่อให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีผลการต่อการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วง โดยในโครงการนี้มีมาตรการที่ได้ดำเนินการพิสูจน์และตรวจวัดดังนี้
    1. การติดตั้งอุปกรณ์ปรับปรุงน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Catalyst) สำหรับหม้อไอน้ำ C
    2. การติดตั้งอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบสำหรับมอเตอร์พัดลมระบายความร้อนของมอเตอร์แท่นรีด
    3. การติดตั้งอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบสำหรับมอเตอร์พัดลมระบายความร้อนของมอเตอร์ในกระบวนการล้างแผ่นเหล็ก
    4. การติดตั้งอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบสำหรับมอเตอร์พัดลมระบายความร้อนของหอผึ่งเย็น
    5. การติดตั้ง Cooling Pad ให้ Condenser ของเครื่องปรับอากาศ
    6. การเปลี่ยนดวงโคมไฟ ชนิดไฮเบย์ 400 W เป็น ดวงโคมประสิทธิภาพสูงยี่ห้อ PHILIPS รุ่น Mini300 ชนิดหลอด เซรามิกดิสชาร์จเมทัลฮาไลด์ 150 W
    7. การลดปริมาณการใช้ไอน้ำในระบบ waste plant โดยติดตั้ง Fractionation Screen
    8. การลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในระบบ waste plantโดยติดตั้ง Fractionation Screen
    9. การปรับปรุงใบกวนและผนังของเครื่องตีเยื่อ
    10. การปรับปรุงระบบ Stock Preparation 11. การปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูงเพื่อการประหยัดพลังงานใน อาคารโรงพยาบาล
  • 2553
    โครงการที่ปรึกษาผู้ตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา รอบที่ 7 ส่วนที่ 1
    เพื่อทำหน้าที่ตรวจวัดและรับรองผลการใช้พลังงานในกิจการของ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” จาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา โดยบริเวณที่ตรวจวัด และรับรองผลนั้นจะครอบคลุมในส่วนที่กิจการนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรอุปกรณ์ ตามแผนงานที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” ได้มีข้อตกลงกันไว้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามพื้นฐานการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบผลการประหยัดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน (Measurement and Verification, M&V) โดยอ้างอิงจากข้อตกลงร่วมกันด้านการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบระดับนานาชาติ (International Performance Measurement and Verification Protocol, IPMVP) ซึ่งบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของ M&V Unit นั้นจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับ “ผู้ได้รับเงินสนับสนุน”เพื่อให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีผลการต่อการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วง โดยในโครงการนี้มีมาตรการที่ได้ดำเนินการพิสูจน์และตรวจวัดดังนี้
  • 2553
    โครงการศึกษาความเหมาะสมในการออกกฎหมายกำกับพลังงานทดแทน
    ศึกษาความเหมาะสมในการกำหนดพลังงานทดแทนเป็นพลังงานควบคุม โดยศึกษาผลดีผลเสียในการพัฒนาพลังงานทดแทน รวมทั้งสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งศึกษาระบบงานที่เหมาะสมรองรับการกำกับดูแลพลังงานทดแทนเป็นพลังงานควบคุม และเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งด้านปฏิบัติและการกำกับดูแล รวมทั้งสร้างเครื่องมือสำหรับผู้ขออนุญาตและผู้กำกับดูแล ให้สามารถรองรับการดำเนินงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย แล้วร่างข้อกำหนดของกฎหมายเพื่อกำกับดูแลพลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานควบคุม
  • 2552
    โครงการที่ปรึกษาผู้ตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา รอบที่ 3 ส่วนที่ 6
    เพื่อทำหน้าที่ตรวจวัดและรับรองผลการใช้พลังงานในกิจการของ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” จาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา โดยบริเวณที่ตรวจวัด และรับรองผลนั้นจะครอบคลุมในส่วนที่กิจการนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรอุปกรณ์ ตามแผนงานที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” ได้มีข้อตกลงกันไว้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามพื้นฐานการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบผลการประหยัดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน (Measurement and Verification, M&V) โดยอ้างอิงจากข้อตกลงร่วมกันด้านการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบระดับนานนาชาติ (International Performance Measurement and Verification Protocol, IPMVP)
  • 2552
    โครงการอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุมภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
    ทำการสำรวจ ตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานและเสนอมาตรการในการประหยัดพลังงาน ฯลฯ พร้อมทั้งจัดทำรายงานและข้อเสนอโครงการอนุรักษ์พลังงานรวมทั้งวิธีการหรือแนวทางการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการประหยัดสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจในเขตจำหน่ายไฟฟ้าของ กฟน. (กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 13 ราย ดังนี้
    1. บริษัท โรงงานทอผ้ากรุงเทพ จำกัด (บางซื่อ กรุงเทพฯ)
    2. บริษัท วนวิทย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (บางขุนเทียน กรุงเทพฯ)
    3. โรงพยาบาลกรุงธน 1 (ธนบุรี กรุงเทพฯ)
    4. บริษัท อุตสาหกรรมท่อน้ำไทย จำกัด (หนองแขม กรุงเทพฯ)
    5. บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (สำโรงใต้ จ.สมุทรปราการ)
    6. บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ป ระเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ)
    7. บริษัท ดูเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (บางเสาธง จ.สมุทรปราการ)
    8. โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน เมอร์เคียว กรุงเทพฯ (ดินแดง กรุงเทพฯ)
    9. เดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน
    10. โรงแรม ดิอิมพีเรียล สุขุมวิท
    11. บริษัท สยามโภชนากร จำกัด (อ.เมือง จ.สมุทรปราการ)
    12. บริษัท อุตสาหกรรมแมนดารินสปินนิ่ง จำกัด (อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี) 13. อาคารโอลิมเปียไทยทาวเวอร์ (ห้วยขวาง กรุงเทพฯ)
  • 2552
    โครงการศึกษาเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานรังสีอาทิตย์เพื่อจัดทำประสิทธิภาพพลังงานตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2550
    - จัดทำร่างกฎกระทรวงเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานรังสีอาทิตย์สำหรับบ้านพักอาศัย ตามพ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 มาตรา 23 พร้อมประกาศกระทรวง และจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานรังสีอาทิตย์สำหรับบ้านพักอาศัย เฉพาะด้านประสิทธิภาพพลังงานและร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวเก็บรังสีอาทิตย์ เฉพาะด้านประสิทธิภาพพลังงาน
    - จัดทำแนวทาง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข วิธีการให้การส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานรังสี พร้อมทั้งรายละเอียดในการดำเนินงานเพื่อรองรับการประกาศใช้กฎกระทรวงฯ และมาตรฐานฯ
  • 2552
    โครงการที่ปรึกษาผู้ตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา รอบที่ 4 ส่วนที่ 1
    เพื่อทำหน้าที่ตรวจวัดและรับรองผลการใช้พลังงานในกิจการของ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” จาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา โดยบริเวณที่ตรวจวัด และรับรองผลนั้นจะครอบคลุมในส่วนที่กิจการนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรอุปกรณ์ ตามแผนงานที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” ได้มีข้อตกลงกันไว้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามพื้นฐานการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบผลการประหยัดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน (Measurement and Verification, M&V) โดยอ้างอิงจากข้อตกลงร่วมกันด้านการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบระดับนานาชาติ (International Performance Measurement and Verification Protocol, IPMVP) ซึ่งบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของ M&V Unit นั้นจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับ “ผู้ได้รับเงินสนับสนุน”เพื่อให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีผลการต่อการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วง
  • 2551
    โครงการศึกษาจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Standby Mode)
    จัดทำร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและจัดทำร่างมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำ จำนวน 7 ผลิตภัณฑ์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ จอมอนิเตอร์ เครื่องสแกนเอกสาร เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์หลายหน้าที่ เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องเสียงในบ้าน รวมทั้งจัดทำแนวทาง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข วิธีการให้การส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ผลิตและผู้จำหน่าย พร้อมทั้งรายละเอียดในการดำเนินงานเพื่อรองรับการประกาศใช้กฎกระทรวงฯ และมาตรฐานฯ
  • 2551
    โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานควบคุม (กลุ่มกรุงเทพฯ และปริมณฑล)
    -พัฒนาและส่งเสริมบทบาทของบุคลากรในโรงงานควบคุมให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยจะต้องนำแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานที่ พพ.จัดขึ้นมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในครั้งนี้
    - สนับสนุน พพ. ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานควบคุม ให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดสัมมนาฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการใช้พลังงานทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ การให้คำปรึกษาในการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะดำเนินการร่วมกับทีมงานในโรงงาน การแก้ไขปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ แก่โรงงานควบคุมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 32 แห่ง เพื่อให้การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานบรรลุผลสำเร็จ โดยมีผลการประหยัดพลังงานที่เป็นรูปธรรมเฉลี่ยต่อแห่งไม่ต่ำกว่า 0.025 ktoe/ปี และต้องมีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี
  • 2551
    โครงการที่ปรึกษาผู้ตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา ส่วนที่ 1
    เพื่อทำหน้าที่ตรวจวัดและรับรองผลการใช้พลังงานในกิจการของ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” จาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา โดยบริเวณที่ตรวจวัด และรับรองผลนั้นจะครอบคลุมในส่วนที่กิจการนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรอุปกรณ์ ตามแผนงานที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” ได้มีข้อตกลงกันไว้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามพื้นฐานการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบผลการประหยัดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน (Measurement and Verification, M&V) โดยอ้างอิงจากข้อตกลงร่วมกันด้านการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบระดับนานาชาติ (International Performance Measurement and Verification Protocol, IPMVP) ซึ่งบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของ M&V Unit นั้นจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับ “ผู้ได้รับเงินสนับสนุน”เพื่อให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีผลการต่อการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วง โดยในโครงการนี้มีมาตรการที่ได้ดำเนินการพิสูจน์และตรวจวัดดังนี้
    1. การเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพต่ำเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง
    2. การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบควบคุมลมอัด
    3. การติดตั้ง VSD ที่ Concentrated Black Liquor Pumps
    4. การติดตั้ง VSD ที่ Diluted Black Liquor Pump
    5. การติดตั้ง VSD ที่ ID Fan #3
    6. การติดตั้ง VSD ที่ Cooling Tower Fan
    7. การติดตั้ง VSD ที่ Warm Water Pump
    8. การติดตั้งอุปกรณ์ปรับคุณภาพ Condensate เพื่อ Recycle 9. การติดตั้ง Pump ใหม่ที่ขนาดและ Discharge Pressure ที่เหมาะสม
  • 2551
    โครงการสร้างขุมกำลังบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร
    เป็นแนวทางที่กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พลังงานในระดับประเทศอย่างกว้างขวาง และดำเนินการเพื่อสร้างขุมกำลังบุคลากรด้านการอนุรักษ์พลังงานเนื่องจากเป็นการประสานด้านเทคนิค การเงิน และการตลาด โดยการส่งเสริมให้นักวิจัยด้านพลังงานรุ่นใหม่ได้เข้ามามีบทบาท และร่วมสร้างผลงานในการลดการใช้พลังงานให้กับประเทศชาติ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการศึกษา ตรวจสอบ แก้ปัญหา และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป อาทิ ศูนย์การค้า สำนักงาน อาคารพักอาศัย อาคารโรงพยาบาล อาคารสถาบันการศึกษา เป็นต้น เพื่อหยิบยกให้ประเด็นด้านการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นประเด็นที่ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจ และได้ประโยชน์ในวงกว้าง ทั้งประเด็นด้านเทคนิค อาทิเช่น แนววิธีปฏิบัติในการใช้พลังงานที่ดี การวิเคราะห์มาตรการในการอนุรักษ์พลังงาน การดำเนินการในมาตรการการอนุรักษ์พลังงาน และการคิดผลประหยัด ผลดีจาการอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับ เป็นต้น ส่วนประเด็นด้านสังคม อาทิเช่น การมีส่วนร่วม การสร้างจิตสำนึกสู่สาธารณะ และผลกระทบต่อการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองต่อสังคมส่วนรวม และประเทศชาติ
  • 2551
    โครงการที่ปรึกษาผู้ตรวจวัดและพิสูจน์ผลประหยัดพลังงาน โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา รอบที่ 3 ส่วนที่ 1
    เพื่อทำหน้าที่ตรวจวัดและรับรองผลการใช้พลังงานในกิจการของ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” จาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา โดยบริเวณที่ตรวจวัด และรับรองผลนั้นจะครอบคลุมในส่วนที่กิจการนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรอุปกรณ์ ตามแผนงานที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และ “ผู้ที่ได้รับเงินสนับสนุน” ได้มีข้อตกลงกันไว้ โดยอย่างน้อยต้องเป็นไปตามพื้นฐานการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบผลการประหยัดจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน (Measurement and Verification, M&V) โดยอ้างอิงจากข้อตกลงร่วมกันด้านการตรวจวัดและพิสูจน์ทราบระดับนานาชาติ (International Performance Measurement and Verification Protocol, IPMVP) ซึ่งบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของ M&V Unit นั้นจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับ “ผู้ได้รับเงินสนับสนุน”เพื่อให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่มีผลการต่อการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วง โดยในโครงการนี้มีมาตรการที่ได้ดำเนินการพิสูจน์และตรวจวัดดังนี้
    1. การเปลี่ยนหลอดแสงจันทร์ 400 วัตต์ เป็น หลอดเมทัลฮาไลด์ 250 วัตต์
    2. การเปลี่ยนแอร์เก่าอายุ 10 ปีแบบใช้รวม มาใช้เป็นแบบแยกห้อง แอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5
    3. การติดตั้ง VF Drive Control มอเตอร์ ขนาดกำลังไฟฟ้า 337 kW แทนการใช้ Damper Control
    4. การหุ้มฉนวน Heater เครื่องฉีดพลาสติก
    5. การติด Inverter เครื่องฉีดพลาสติก
    6. การติดตั้งชุดควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์(VSD) พัดลมระบายไอเสีย
    7. การติดตั้งชุดควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD) พัดลม Primary Air Fan (PA Fan)
    8. การติดตั้งชุดควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์(VSD) พัดลม Secondary Air Fan (SA Fan)
    9. Modify cooler fan to direct drive
    10. High efficiency motor (Eff.1) “Siemens” 11. Insulation and Cover for concrete tank
  • 2550
    โครงการให้ความรู้เรื่อง Energy Audit แก่หน่วยงานของรัฐและจังหวัด (ที่ปรึกษาให้ความรู้และแนะนำให้คำปรึกษาเรื่อง Energy Audit ภาคตะวันออกและตะวันตก)
    - อบรมหลักสูตร Energy Audit ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานของรัฐ ไม่น้อยกว่า 293 แห่งๆ ละ 2 คน เพื่อให้สามารถจัดทำ Energy Audit Report ได้ ตลอดจนดำเนินการให้เกิดผลประหยัดในแต่ละอาคารอย่างเป็นรูปธรรม
    - จัดเตรียมแนวทางและแบบสำรวจข้อมูลในการดำเนินการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ให้คำปรึกษาเพื่อให้อาคารแต่ละแห่งสามารถดำเนินการตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานของหน่วยงานตนเองได้
    - จัดทำคู่มือสรุปผลการดำเนินการทำ Energy Audit ของอาคารแต่ละแห่ง เพื่อสามารถทราบผลประหยัด และสามารถนำไปเผยแพร่ต่อไปได้
  • 2550
    โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานควบคุม (กลุ่ม 4)
    พัฒนาและส่งเสริมบทบาทของบุคลากรในโรงงานควบคุมให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยจะต้องนำแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานที่ พพ.จัดขึ้นมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในครั้งนี้
    - สนับสนุน พพ. ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานควบคุม ให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดสัมมนาฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการใช้พลังงานทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ การให้คำปรึกษาในการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะดำเนินการร่วมกับทีมงานในโรงงาน การแก้ไขปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ แก่โรงงานควบคุม จำนวนทั้งสิ้น 62 แห่ง เพื่อให้การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานบรรลุผลสำเร็จ โดยมีผลการประหยัดพลังงานที่เป็นรูปธรรมเฉลี่ยต่อแห่งไม่ต่ำกว่า 0.015 ktoe/ปี ภายหลังจบโครงการ ทั้งนี้มาตรการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว ต้องมีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี
  • 2550
    Survey on Present Condition of Energy Consumption in Hospitals in Thailand
    ตรวจสอบข้อมูลการใช้พลังงานในสถานพยาบาล จำนวน 20 แห่ง
    1. โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ถ.วิภาวดีรังสิต พญาไท กรุงเทพฯ
    2. โรงพยาบาลวิภาวดี ถ.งามวงศ์วาน จตุจักร กรงเทพฯ
    3. โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ถ.รามอินทรา คันนายาว กรุงเทพฯ
    4. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถ.พระรามที่ 4 ปทุมวัน กรุงเทพฯ
    5. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ถ.สุขุมวิท วัฒนา กรุงเทพฯ
    6. โรงพยาบาลปิยะเวท ถ.ริมคลองสามเสน ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
    7. โรงพยาบาลชลประทาน ถ.ติวานนท์ ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    8. สถาบันโรคทรวงอก ถ.ติวานนท์ เมือง จ.นนทบุรี
    9. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ต.บางกระสอ เมือง จ.นนทบุรี
    10. โรงพยาบาลศิริราช ถ.พรานนก บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
    11. โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ถ.สามเสน ดุสิต กรุงเทพฯ
    12. โรงพยาบาลมิชชั่น ถ.พิษณุโลก ดุสิต กรุงเทพฯ
    13. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ถ.ราชวิถี ราชเทวี กรุงเทพฯ
    14. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ถ.ราชวิถี ราชเทวี กรุงเทพฯ
    15. สถาบันประสาทวิทยา ถ.ราชวิถี ราชเทวี กรุงเทพฯ
    16. โรงพยาบาลรามาธิบดี ถ.พระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ
    17. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ธนบุรี กรุงเทพฯ
    18. โรงพยาบาลกรุงธน 1 ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ธนบุรี กรุงเทพฯ
    19. โรงพยาบาลตากสิน ถ.สมเด็จพระเจ้าพระยา คลองสาน กรุงเทพฯ
    20. โรงพยาบาลกลาง ถ.หลวง ป้อมปราบ กรุงเทพฯ
  • 2550
    โครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 (ที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการตรวจสอบการตรวจวัดและพิสูจน์ผลการอนุรักษ์พลังงานในโครงการสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 (กลุ่มภาคกลาง)
    1 ตรวจสอบข้อมูลการจัดการพลังงานในสถานประกอบการและรับรองผลการดำเนินการจัดการพลังงาน รวมทั้งตรวจสอบแผนการตรวจวัด และพิสูจน์ผลการอนุรักษ์พลังงาน และรับรองแผนการตรวจวัดและพิสูจน์ผลดังกล่าว
    2 ตรวจสอบผลการตรวจวัดการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์หรือระบบ ก่อนและหลังการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน โดยต้องตรวจสอบวิธีการและขั้นตอนการตรวจวัดการใช้พลังงานทุกขั้นตอน และรับรองผลการตรวจวัดโดยลงนามกำกับผลทุกครั้ง
    3 ตรวจสอบวิธีการประเมินผลประหยัดจากข้อมูลที่ตรวจวัดได้ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
    4 ประเมิน และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในขั้นตอนวิธีการดำเนินงานการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบ และเสนอแนะแนวทางการดำเนินการในอนาคต
  • 2550
    โครงการทบทวนร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2
    ทบทวนค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานและข้อกำหนดต่างๆ ที่กำหนดในร่างกฎกระทรวงฯ ที่ได้จัดทำไว้แล้ว รวมทั้งข้อมูลทางด้านเทคโนโลยี การตลาด การผลิตและจำหน่าย ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจศักยภาพในการประหยัดพลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขจัดทำร่างกฎกระทรวงฯ และจัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม : ประสิทธิภาพพลังงาน จำนวน 11 อุปกรณ์ ดังนี้
    1. ฉนวนใยแก้ว
    2. เตารีดไฟฟ้า
    3. เครื่องซักผ้า
    4. เตาไฟฟ้า
    5. กาต้มน้ำไฟฟ้า
    6. เตาอบไมโครเวฟ
    7. เตาอบไฟฟ้า
    8. เครื่องอบผ้า
    9. ตู้แช่
    10. กระจก
    11. เครื่องทำน้ำเย็นในระบบปรับอากาศ
  • ผลงานปี
    ชื่อโครงการ
    รายละเอียด
  • 2549
    โครงการที่ปรึกษาตรวจสอบ (Accredited Consultants) เพื่อดำเนินงานในส่วนการตรวจสอบและส่งเสริมการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ในโรงงานควบคุม (กลุ่มที่ 3)
    - ติดต่อประสานงาน รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลให้แก่โรงงานควบคุมที่ได้รับมอบรายชื่อจำนวนไม่น้อยกว่า 800 แห่ง เพื่อให้กระตุ้นโรงงานดำเนินกิจกรรมตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535
    - เป็นที่ปรึกษา พพ. ในการวินิจฉัยปัญหาด้านวิชาการและวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมและรวดเร็ว
  • 2549
    โครงการศึกษาเกณฑ์การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมและอาคารต่างๆ (SEC) (อุตสาหกรรมกระดาษ)
    - พัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้ในการติดต่อประสานงานและติดตามความก้าวหน้ากับผู้เข้าร่วมโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้ในการเผยแพร่ผลงานการศึกษาและเป็นแหล่งข้อมูลในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของโครงการ โดยเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นต้องมีความทันสมัยและสะดวกในการใช้งานรวมถึงสามารถเชื่อมต่อกับเว็บไซต์หลักของ พพ.ได้
    - ศึกษาวิเคราะห์ค่า Energy Intensity และ Energy Elasticity ของอุตสาหกรรมกระดาษทั้งประเทศ สำหรับช่วงปี 2546 – 2548 หรือนำเสนอค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุตสาหกรรมกระดาษในภาพรวมทั้งประเทศในรูปแบบอื่นที่เหมาะสมซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก พพ.แล้ว รวมถึงนำเสนอการคาดการณ์ค่า Energy Intensity และ Energy Elasticity หรือค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานในรูปแบบอื่นที่มีการนำเสนอไว้สำหรับอุตสาหกรรมกระดาษ ในภาพรวมทั้งประเทศ เพื่อ พพ.นำมาพิจารณาใช้ประกอบการจัดทำนโยบายด้านอนุรักษ์พลังงานต่อไป
    - พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในการบันทึกและแสดงผลข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในโครงการ เช่น ข้อมูลการใช้พลังงาน ข้อมูลการผลิต ดัชนีการใช้พลังงาน เทคโนโลยีและมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยที่ปรึกษาจะต้องถ่ายทอดการใช้งานระบบฐานข้อมูลดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ พพ.ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำคู่มือการใช้งาน
  • 2549
    โครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงาน
    - จัดการฝึกอบรมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการพลังงาน การสำรวจการใช้พลังงานในโรงงาน เทคนิคการประหยัดพลังงานทางด้านความร้อน และไฟฟ้า ให้กับอาจารย์จากสถาบันอาชีวศึกษา เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพลังงานภูมิภาค ทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดตั้งทีมเทคนิค เข้าให้คำแนะนำกับโรงงาน เป็นเวลา 1 วัน โดยมีการนำเสนอมาตรการอนุรักษ์พลังงานในเบื้องต้นให้กับโรงงาน จำนวน 500 แห่ง
    - สร้างเครือข่ายความร่วมมือและกระจายงานด้านอนุรักษ์พลังงานไปสู่ภูมิภาค
  • 2549
    โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดทำรายงานวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Feedback Report) ในโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม (ส่วนโรงงานควบคุม)
    - พัฒนาระบบการจัดทำ Feedback Report ในรูปแบบปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในส่วนของความถูกต้องของผลการวิเคราะห์และความรวดเร็วในการใช้งาน รวมทั้งพัฒนาระบบให้สามารถทำงานได้ในรูปแบบอิเล็คทรอนิดส์ (e-report)
    - จัดทำรายงานสรุปสถานภาพการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมในภาพรวมประจำปี 2548
    - จัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ของ พพ. และผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้งานระบบการจัดทำ Feedback Report และการดูแลระบบการเผยแพร่ข้อมูล ให้มีความเข้าใจในระบบงานและสามารถดำเนินการได้เองต่อไปในอนาคต
  • 2549
    โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานควบคุม (กลุ่ม 3)
    - พัฒนาและส่งเสริมบทบาทของบุคลากรในโรงงานควบคุมให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยจะต้องนำแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการพลังงานที่ พพ.จัดขึ้นมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในครั้งนี้
    - สนับสนุน พพ. ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมโดยโรงงานควบคุม ให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดสัมมนาฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการใช้พลังงานทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ การให้คำปรึกษาในการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะดำเนินการร่วมกับทีมงานในโรงงาน การแก้ไขปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ แก่โรงงานควบคุม จำนวนทั้งสิ้น 79 แห่ง เพื่อให้การดำเนินการอนุรักษ์พลังงานบรรลุผลสำเร็จ โดยมีผลการประหยัดพลังงานที่เป็นรูปธรรมเฉลี่ยต่อแห่งไม่ต่ำกว่า 0.02 ktoe/ปี ภายหลังจบโครงการ ทั้งนี้มาตรการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว ต้องมีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี
  • 2548
    ปรึกษาการสร้างจิตสำนึกด้านการใช้พลังงานในอาคารส่วนราชการ (กลุ่มที่ 1)
    จัดทำหลักสูตรเพื่อใช้อบรมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในอาคารส่วนราชการให้มีความรู้ความเข้าใจและมีจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า โดยการจัดอบรมทั่วประเทศ เป็นเวลา 1 วัน
  • 2547
    โครงการศึกษาจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดกระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
    - ศึกษารายละเอียดกระจก 5 ประเภท ได้แก่ กระจกสี กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ กระจกที่มีสภาพการแผ่รังสีต่ำ กระจกฉนวนกันความร้อน และกระจกนิรภัยหลายชั้น เพื่อนำข้อมูลมาจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดกระจกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และกำหนดระบบการส่งเสริมผู้ผลิต และผู้จำหน่าย
    - จัดวางระบบ ขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติงานพร้อมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงานเพื่อรองรับกฎกระทรวง
  • 2547
    โครงการประเมินผลโครงการจัดตั้งระบบผลิตน้ำเย็นโดยใช้พลังงานความร้อนจากแกลบสำหรับโรงเพาะเห็ด โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
    เป็นการประเมินผลการประยุกต์ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลประเภทอื่น ซึ่งได้เลือก ชานอ้อย ขี้เลื่อย และเปลือกถั่วลิสง ซึ่งจากการประเมินพบว่า เชื้อเพลิงทั้ง 3 ชนิดที่นำมาทดลองไม่มีชนิดใดเลยที่สามารถนำมาใช้กับระบบเดิมได้โดยไม่ต้องดัดแปลงหรือปรับปรุงระบบ โดยปัญหาที่พบคือ ความเหมาะสมด้านกายภาพของเชื้อเพลิงกับระบบป้อนเชื้อเพลิงของเตาเผาแกลบแบบไซโคลน
  • 2547
    โครงการวิจัยและศึกษา Energy Intensity ของอุตสาหกรรมสิ่งทอ
    ตรวจวัดการใช้พลังงาน (Energy Audit) เพื่อการประหยัดพลังงาน เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และจัดทำรายงานในการประเมินค่าพลังงานต่อหน่วยผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Specific Energy Consumption: SEC) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 โรง
  • 2547
    โครงการบริหารการอนุรักษ์พลังงานในอาคารส่วนราชการ โดยใช้บริษัทจัดการพลังงานแบบประกันผลประหยัดและแบบร่วมแบ่งผลประหยัด
    เป็นโครงการบริหารการอนุรักษ์พลังงานในอาคารส่วนราชการโดยใช้บริษัทจัดการพลังงานหรือที่เรียกว่า ESCO
  • 2547
    โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดทำรายงานสถานภาพการใช้พลังงาน (Feedback Report) ของโรงงานควบคุม
    - ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขข้อมูล บพร.1 ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเดิมของ พพ.ให้มีความสอดคล้องกับแนววิเคราะห์ค่าดัชนีการใช้พลังงานของแต่ละอุตสาหกรรม
    - ทบทวน ปรับปรุงการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหน่วยกลางของผลผลิตของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
    - ปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการจัดทำ Feedback Report สำหรับโรงงานควบคุม รวมทั้งพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต การใช้พลังงาน และการอนุรักษ์พลังงานจากข้อมูล บพร.1 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ค่าดัชนีการใช้พลังงานและศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม
  • 2547
    โครงการศึกษาเกณฑ์การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมอาหาร (ห้องเย็น การผลิตน้ำแข็ง และผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง)
    - จัดกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและทำการประเมินค่าดัชนีการใช้พลังงานของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพการใช้พลังงาน ซึ่งสามารถนำมากำหนดเป็นมาตรฐานการใช้พลังงาน (Benchmark) ของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร
    - ประเมิน Energy Intensity และ Energy Elasticity ของอุตสาหกรรมอาหารทั้งประเทศ ในช่วงปี 2544 – 2546
    - ประเมินศักยภาพและมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และจัดทำ (ร่าง) แนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานสำหรับอุตสาหกรรมอาหารเพื่อลด Energy Intensity และ Energy Elasticity โดยแบ่งเป็นแผนการดำเนินงานในระยะสั้น กลาง ยาว และกิจกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  • 2547
    โครงการจัดทำรายงานประจำปีสถานภาพการใช้พลังงานและจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงาน
    ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้และการอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำรายงานประจำปีสถานภาพการใช้และการอนุรักษ์พลังงานเพื่อนำมาใช้วางนโยบายและแผนด้านการอนุรักษ์พลังงานและเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน
    รวบรวมผลการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านมา จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานของ พพ.
  • 2547
    โครงการศึกษาศักยภาพของชีวมวลที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน
    ศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย 5 ชนิด คือ แกลบกากปาล์ม ขี้เลื่อย กากมะพร้าว และกากอ้อยจากน้ำตาล และพัฒนา Web Site ให้กองควบคุมมลพิษ เพื่อการนำเสนอข้อมูลศักยภาพชีวมวลในประเทศไทย มีการนำเสนอข้อมูลที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูล มีระบบการนำเสนอข่าวกระดานถามตอบ และระบบควบคุมดูแลWeb Site และ ประเมินความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์และสังคมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการแปรรูปของเสียชีวมวลในระดับอุตสาหกรรม
  • 2547
    ที่ปรึกษาเพื่อประเมินผลโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานสำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม (นำร่อง)
    เป็นการประเมินโครงการมาตรการมาตรฐานสำหรับโรงงานและอาคารควบคุมซึ่งกำหนด เงื่อนไขการให้การสนับสนุนด้านการเงินในรูปของเงินให้เปล่าจำนวนไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินลงทุน แต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของราคากลางที่ พพ. กำหนด ส่วนที่เหลือร้อยละ 70 ของเงินลงทุน ผู้ประกอบการเป็นผู้ออกเอง ใช้สำหรับการอนุรักษ์พลังงานในมาตรการมาตรฐาน 11 ประเภทที่มีการพิสูจน์แล้วให้ผลการประหยัดพลังงานที่แท้จริง โดยประเมินผลออกเป็น 4 ด้าน คือ
    1. เพื่อประเมินผลการลงทุนและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
    2. เพื่อประเมินผลการบริหารโครงการ และแนวทางการปรับปรุงในการดำเนินงานต่อไปในอนาคต
    3. ประเมินผลทางเทคนิค ทั้งด้านผลการประหยัดพลังงานของมาตรการต่างๆ เมื่อมีการนำไปใช้จริงในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมและความเหมาะสมของการใช้งาน
    4. ประเมินผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอุปกรณ์และเพื่อให้ได้แนวทางในการจัดทำราคากลางสำหรับมาตรการมาตรฐานและมาตรการอื่นๆ ซึ่งต้องสะท้อนถึงแนวทางในการสนับสนุนกลไกตลาด
  • 2545
    โครงการศึกษาและจัดทำรายงานสถานภาพการใช้พลังงาน (Feedback Report) ของโรงงานควบคุม
    เป็นการนำข้อมูลการใช้พลังงานตามแบบ บพร.1 มาจัดทำเป็นรายงานเปรียบเทียบค่าดัชนีการใช้พลังงาน (Specific Energy Consumption Index : SEC) ในลักษณะ Feedback Report ส่งกลับให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ส่ง บพร.1 มายัง พพ. เพื่อให้โรงงานได้รับทราบสถานภาพการใช้พลังงานของตนเทียบกับอดีตที่ผ่านมา และเทียบกับโรงงานอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งจะจูงใจให้โรงงานควบคุมรับทราบประโยชน์ของการจัดเก็บบันทึกข้อมูลพลังงาน และกระตุ้นจูงใจให้โรงงานควบคุมปรับปรุงการใช้พลังงานของตนได้ รวมทั้งตรวจสอบความสอดคล้องและปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีอยู่เพื่อให้ได้ Feedback Report ที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ
  • 2545
    ที่ปรึกษาดำเนินการปรับปรุงเกณฑ์การคิดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงาน
    - เป็นการรวบรวมแนวทางและวิธีการคิดค่าใช้จ่ายของที่ปรึกษาหรืองานด้านอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีลักษณะเดี่ยวกับการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา
    - ศึกษาวิเคราะห์ขอบเขตและขั้นตอนการดำเนินการตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานและหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันตาม พรบ. ฯ พ.ศ.2535
    - สำรวจ รวบรวมและวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมระหว่างค่าใช้จ่ายที่อาคารและโรงงานควบคุมได้รับการสนับสนุน , ปริมาณงานที่ที่ปรึกษาดำเนินการตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบและวิเคราะห์ และผลการประหยัดพลังงานที่นำเสนอในรายงานฯ
    - การปรับปรุงรายละเอียดหลักเกณฑ์การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานและการจัดทำเป้าหมายและแผนในทางปฏิบัติที่ดำเนินการอยู่ปัจจุบันให้เหมาะสมและสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่ได้รับการสนับสนุน
  • 2545
    โครงการศึกษาเพื่อพิสูจน์ผลของมาตรการอนุรักษ์พลังงานจากการตรวจสอบมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ปรากฎในรายงานตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคารและโรงงานควบคุม
    - ศึกษาเทคโนโลยีของวัสดุและอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้นำเข้า และผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
    - สำรวจและรวบรวมข้อมูลอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานที่ใช้งานในปัจจุบัน และปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยจัดทำเป็นฐานข้อมูล
    - ศึกษาและพิสูจน์เทคโนโลยีของวัสดุ และอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงาน ในโรงงานและอาคารควบคุม
  • ผลงานปี
    ชื่อโครงการ
    รายละเอียด
  • 2544
    ที่ปรึกษาสำรวจและรวบรวมข้อมูลในอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานสูงอย่างน้อย 3 ประเภท เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรม
    วิเคราะห์การใช้พลังงานในแต่ละขบวนการการทำงานของโรงงาน รวมถึงอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้พลังงานมาก เพื่อให้เข้าใจลักษณะการใช้พลังงานของโรงงาน แล้วจัดทำเอกสารคู่มือปฏิบัติที่เหมาะสมในการทำงาน (Best Practice Guide) เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในโรงงานกลุ่มที่ทำการศึกษา
  • 2541
    โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโครงการสัมมนาประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกและเพิ่มพูนความรู้ทักษะการอนุรักษ์พลังงานสำหรับอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศ ระยะที่ 2
    กำหนดหลักสูตรด้านการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อใช้ในการอบรมอาจารย์วิทยาลัยเทคนิค และจัดสัมมนาให้ความรู้ ทักษะด้านการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกให้แก่อาจารย์ของวิทยาลัยเทคนิค
  • 2541
    โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานทางสื่อโทรทัศน์ รายการ “มิติใหม่ Energy Today”
    ศึกษาและเลือกหัวข้อที่น่าสนใจทางด้านพลังงาน เพื่อจัดทำบทวิชาการ บทโทรทัศน์สำหรับการทำสารคดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงาน จำนวน 40 ตอน ความยาวประมาณ 5 นาที เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
  • 2541
    โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานทางสื่อโทรทัศน์ รายการ “พลังงาน ปัญหาน่ารู้”
    ศึกษาและเลือกหัวข้อที่น่าสนใจทางด้านพลังงาน เพื่อจัดทำบทวิชาการ บทโทรทัศน์สำหรับการทำสารคดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงาน จำนวน 40 ตอน ความยาวประมาณ 2 นาที เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท.
  • 2540
    โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานทางสื่อโทรทัศน์ รายการ “Energy Today” ระยะที่ 2
    ศึกษาและเลือกหัวข้อที่น่าสนใจทางด้านพลังงาน เพื่อจัดทำบทวิชาการ บทโทรทัศน์สำหรับการทำสารคดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงาน จำนวน 40 ตอน ความยาวประมาณ 5 นาที เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
  • 2540
    โครงการจัดทำเอกสารแพร่ ชุด “ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน”
    จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ ชุด “ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน” ของอุปกรณ์ไฟฟ้า 5 ชนิด คือ 1. เครื่องปรับอากาศ 2. ตู้เย็นเชิงพาณิชย์ 3. มอเตอร์ไฟฟ้า 4. หลอดไฟฟ้าและบัลลาสต์ 5. เครื่องปั๊มน้ำ
  • 2540
    โครงการสัมมนาประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกและเพิ่มพูนความรู้ทักษะการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศ ระยะที่ 1
    กำหนดหลักสูตรด้านการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อใช้ในการอบรมอาจารย์วิทยาลัยเทคนิค และจัดสัมมนาให้ความรู้ ทักษะด้านการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกให้แก่อาจารย์ของวิทยาลัยเทคนิค
  • 2539
    โครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานทางสื่อโทรทัศน์รายการ “Energy Today"
    ศึกษาและเลือกหัวข้อที่น่าสนใจทางด้านพลังงาน เพื่อจัดทำบทวิชาการ บทโทรทัศน์สำหรับการทำสารคดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในอาคารและโรงงาน จำนวน 40 ตอน ความยาวประมาณ 5 นาที เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5