ระบบจะมีการควบคุมการทำงานของปั๊มหรือพัดลมที่ปรับความเร็วรอบ จึงต้องมีอุปกรณ์รับและส่งค่าควบคุมให้ปั๊มหรือพัดลม ปั๊มหรือพัดลมที่ปรับความเร็วรอบจะควบคุมด้วยอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ หรืออินเวอร์เตอร์

อินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในระบบทำน้ำเย็น จะรับคำสังเดิน-หยุด และความเร็วรอบได้จากแป้นกดที่เครื่อง (Font Panel) หรือรับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอก ในรูป 4-20 mA หรือ 0-10 V ซึ่งอาจเลือกโหมดการทำงานได้จากฟังก์ชันในเมนูหรือ DIP Switch อุปกรณ์รับส่งข้อมูลจะอ่านค่าปรับตั้งความเร็วรอบ (QVPP) จากเครื่องแม่ข่าย ในรูปข้อมูล string และส่งสัญญาณให้โมดูลแปลงสัญญาณ 4-20 mA หรือ 0-10 V รอบการรับและส่งข้อมูลทุก 15 วินาที

การพัฒนาใช้MCU ตระกูล NodeMCU V.3 เชื่อมต่อกับโมดูลสัญญาณมาตรฐาน ในที่นี้ใช้สัญญาณ 4-20 Ma และใช้โมดูลสำเร็จรูปสร้างสัญญาณ 4-20 mA ชื่อ 4-20 mA T click การต่อวงจรดังภาพ

 

รูปแผงสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ

 

 

รายการอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อวงจร

รายการอุปกรณ์ จำนวน (ชิ้น) รูปอุปกรณ์
1. Node MCU V3 (ESP-12E, USB CH340) 1  
2. 4-20 mA T Click module 1
3. Male to Female Jumpers Wires 10 - 20
4. Breadboard 85 x 55 mm 1
5. 5V 5A Switching Power Supply 1

สำหรับโปรแกรมสำหรับโหลดลง NodeMCU ตามนี้ ท่านสามารถเปิดไฟล์ต่อไปนี้ ด้วยโปรแกรม Arduino IDE ได้เลย เพื่อปรับตั้งค่าให้ตรงกับอาคารของท่าน  แล้วอัพโหลดลงบน NodeMCU ที่เตรียมมาผ่านสาย USB ได้เลย 

การปรับแก้ข้อมูลในไฟล์โปรแกรม มีเพียง 3 จุด คือ

จุดที่ 1 แก้ค่าชื่อและรหัสเข้า wi-fi ของท่าน

#define WIFI_STA_NAME "XXXX" // ใส่ SSID --> XXXX
#define WIFI_STA_PASS "YYYY" // ใส่ PASS --> YYYY

จุดที่ 2 แก้ที่อยู่ของแม่ข่าย หรือ PM ให้เป็นตามที่เครือข่ายกำหนดให้ เมื่อท่านจะติดตั้งระบบ ท่านต้องขอที่อยู่หรือ IP ให้กับแม่ข่าย 1 เบอร์ ผู้ดูแลระบบอินเตอร์เน็ตของท่านจะกำหนดที่อยู่ให้กับท่าน เพื่อให้เซ็นเซอร์ทุกตัวส่งค่ามาให้

String url = "http://192.168.1.100/chiller.php"; // ใส่ IP ของระบบของท่าน

จุดที่ 3 แก้ชื่อสัญญาณ ที่จะตั้งให้กล่องนั้น ให้ตรงกับที่ท่านจะใช้ ตรงจุดที่นิยามค่า payload เช่น ปั๊มน้ำเย็น ชุดที่ 4 ท่านต้องแก้ชื่อตัวแปรใน payload ให้เป็น QVPP4 เป็นต้น

จากนั้นอัพโหลดได้เลย