ครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมปี 50
ที่มาของโครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม
           ในปัจจุบันสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มักมองข้ามเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน มุ่งเน้น นโยบายด้านการพัฒนากระบวนการผลิตเป็นหลัก สาเหตุเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งขาดการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมในด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจังและเป็นระบบ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) จึงได้ดำเนินการให้มี โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมขึ้น ด้วนสาเหตุจากวิกฤตการณ์ทางด้านพลังงานของโลก ทำให้ราคาของเชื้อเพลิงต่างๆ ในประเทศไทยมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก สถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนที่ใช้พลังงานจำนวนมากถึงร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานของทั้งประเทศ ต่างตื้นตัวและพยายามปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานภายในสถานประกอบการของตน แต่ประสบปัญหาในเรื่องของความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการจัดการพลังงานในสถานประกอบการ ขาดการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม ในด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจังและเป็นระบบ

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงงาน (พพ.) ได้ดำเนินการมาตรการเชิงรุกด้วยการเข้าให้การสนับสนุนให้ทีมผู้ความเชี่ยวชาญ ดำเนินการเข้าไปให้ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการจัดการพลังงานถึงภายในโรงงานตาม ” โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม “ โดยมุ่งหวังให้ภาคเอกชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน นำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าไปแนะนำระบบการจัดการพลังงานและเทคนิคการอนุรักษ์พลังงาน ทั้งทางด้านพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานและการผลิต เพื่อเน้นการสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรในสถานประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการการใช้พลังงานในหน่วยงานของตนเองอย่างเป็นระบบ รู้จักวิธีการอนุรักษ์พลังงานสร้างเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม เกิดการรู้จักคิดนอกกรอบก่อให้เกิดการพัฒนาทีมงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในสถานประกอบการ จนสามารถดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนเกิดความร่วมมือกันจากทุกฝ่ายในองค์กร เพื่อเป็นการสานต่อนโยบายการอนุรักษ์พลังงานนี้ให้ยั่งยืนได้ต่อไปอนาคต

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงงาน (พพ.) ได้ดำเนินการมาตรการเชิงรุกด้วยการเข้าให้การสนับสนุนให้ทีมผู้ความเชี่ยวชาญ ดำเนินการเข้าไปให้ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการจัดการพลังงานถึงภายในโรงงานตาม ” โครงการอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วม “ โดยมุ่งหวังให้ภาคเอกชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน นำทีมผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าไปแนะนำระบบการจัดการพลังงานและเทคนิคการอนุรักษ์พลังงาน ทั้งทางด้านพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานและการผลิต เพื่อเน้นการสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรในสถานประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการการใช้พลังงานในหน่วยงานของตนเองอย่างเป็นระบบ รู้จักวิธีการอนุรักษ์พลังงานสร้างเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม เกิดการรู้จักคิดนอกกรอบก่อให้เกิดการพัฒนาทีมงานด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในสถานประกอบการ จนสามารถดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนเกิดความร่วมมือกันจากทุกฝ่ายในองค์กร เพื่อเป็นการสานต่อนโยบายการอนุรักษ์พลังงานนี้ให้ยั่งยืนได้ต่อไปอนาคต

ทั้งนี้ในการดำเนินการหลัก จะมุ่งเน้นในมาตรการที่เกี่ยวกับการใช้งานและการดูแลรักษาที่ดี ( Good Operation and House keeping) ก่อน เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่าย ลงทุนน้อย และมีระยะเวลาคืนทุนสั้น ซึ่งจะทำให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานที่เห็นผลได้อย่างรวดเร็วและ ให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยคาดว่าจะมีผลการประหยัดพลังงานต่อโรงงานไม่ต่ำกว่า 0.015 ktoe/ ปี และมีผลการประหยัดพลังงานเฉลี่ยต่อโรงงานจากผลประหยัดทั้งโครงการไม่น้อยกว่า 0.025 ktoe/ ปี ( ktoe = เทียบเท่าตันน้ำมันดิบ : 1 ktoe คิดเป็นปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า 11.7 ล้าน kWh ) ภายหลังจบโครงการโดยเน้นมาตรการที่มีระยะเวลาคืนทุนเฉลี่ยไม่เกิน 3 ปี
 
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมบทบาทของบุคลากรในโรงงานควบคุมให้มีส่วนร่วมในในการบริหารจัดการการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยนำระบบการจัดการพลังงานที่ พพ. จัดทำขึ้นมาดำเนินการในสถานประกอบการ
2. เพื่อนำระบบการจัดการพลังงานที่ พพ. พัฒนามาปฏิบัติจริงก่อนการบังคับใช้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของโรงงานและอาคารควบคุม จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายการอนุรักษ์พลังงาน
3. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการอนุรักษ์พลังงานทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ แก่ทีมงานอนุรักษ์พลังงาน ให้คำปรึกษาในการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะดำเนินการร่วมกับทีมงานในโรงงาน การแก้ไขปัญหา/อุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน
4. ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการดำเนินโครงการฯ เพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงการดำเนินงาน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางที่เหมาระสมในการขยายผลโครงการฯ ต่อไป
 
การตรวจวัดพื้นฐาน ด้านการใช้พลังงาน ด้วยเครื่องมือการตรวจวัดต่างๆ
อุปกรณ์ตรวจวัดพื้นฐานต้ดังต่อไปนี้
เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า ( Power Meter )
เครื่องวัดกำลังการส่องสว่าง ( Lux Meter )
เครื่องวัดอุณหภูมิ ( Thermometer )

อุปกรณ์ตรวจวัดในขั้นรายละเอียดทางเทคนิค ดังต่อไปนี้

เครื่องบันทึกข้อมูล ( Data Logger )
เครื่องวัดประสิทธิภาพหม้อไอน้ำ ( Flue Gas Analyzer )
เครื่องวัดอัตราการไหลของเหลว ( Fluid Flow Meter )
กลุ่มงานวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (En Con Lab) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ บางมด ทุ่มครุ กรุงเทพ 10140
โทร (02) 8725491-4 โทรสาร (02) 8725495
www.enconlab.com